สถานศึกษาที่ไปศึกษาดูงาน
1. Gongshang
Primary School (GPS)
เป็นโรงเรียนประถมศึกษา ได้ความรู้เรื่องการจัดอาคารสถานที่
มีที่จัดแสดงความเป็นมา ประวัติการก่อตั้งโรงเรียน มีภาพบุคคลสำคัญที่มาเยี่ยมโรงเรียน
มีภาพนักเรียนดีเด่นด้านต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬา มีโล่รางวัลมากมาย จัดแสดงให้ผู้มาเยือนได้ชม
พื้นที่บริเวณโรงเรียนไม่กว้างขวาง จึงจัดสัดส่วนให้ใช้ประโยชน์คุ้มค่าทุกมุม
มีมุมจัดสวน มุมทดลองด้านชีววิทยา
การเกษตร
ห้องประชุมครู แสดงวิสัยทัศน์
พันธกิจ ค่านิยมของโรงเรียน ผู้บริหาร Principal เป็นสุภาพสตรี
เคยอยู่โรงเรียนมัธยมศึกษาแล้วมาเป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีรองผู้อำนวยการ
1 คน เป็นสุภาพสตรี ดูท่าทางคล่องแคล่ว พูดฉลาด เก่งมาก
นำเสนอข้อมูลโรงเรียนได้ดีมาก
ห้องปฏิบัติการ(Lab) มีความพร้อมเรื่องสื่ออุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้
อ่างล้างเครื่องมือ
จุดเด่นที่สุดของ Gongshang Primary School
คือหลักสูตรของโรงเรียนโดยสร้างคู่มือเรียกว่า Education
Jurney ในเอกสารเล่มนี้จะมีกิจกรรมหลากหลาย
เหมาะสำหรับนักเรียนแต่ละระดับชั้น
กิจกรรมเหล่านี้มุ่งพัฒนาทางวิชาการและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศไทย
1.
สร้างมุมหรือห้องเกียรติยศ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการก่อตั้งโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน ผลงานดีเด่น โล่มีป้ายนำเสนอวิสัยทัศน์(Vision) พันธกิจ(Mission ) และค่านิยม(value) ของโรงเรียนให้ชัดเจนบุคลากร
ในโรงเรียนและแขกผู้มาเยือน (Visitors)เห็นได้ชัดเจน
2.
จัดห้องบริการและห้องปฏิบัติการให้มีความพร้อม เช่น ห้องสมุด ห้องแนะแนว
ห้องวิทยาศาสตร์ ศิลปดนตรี
3.
จัดพื้นที่ในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้คุ้มค่า เช่น สวนเกษตร สวน Biology มุมศิลปะ
4.
จัดหลักสูตรสถานศึกษา ของตัวเองให้มีเอกลักษณ์ เหมาะกับบริบทของตัวเอง มีสื่อ
และคู่มืออย่างชัดเจน
2. Faith Kindergarten School
เป็นโรงเรียนอนุบาล
หรือสถานที่รับอบรมดูแลเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนที่จะเข้าเรียนระดับ Primary School
สถานศึกษาแห่งนี้องค์กรเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ
ไม่ใช่สถานศึกษาของรัฐบาลสิงคโปร์ แต่เป็นเอกชนดำเนินการ
เพื่อบริการครอบครัวที่มีลูกเล็ก พ่อแม่ต้องไปทำงานนอกบ้าน
จึงต้องเอามาฝากให้สถานศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
จุดเด่นของ
Faith Kindergarten School คือจัดห้องบริการห้องเรียนเสมือนชีวิตจริง เช่น
ห้องน้ำก็ใช้ครุภัณฑ์เหมือนของผู้ใหญ่ทุกอย่างเพียงแต่ย่อส่วนลงสำหรับเด็กเท่านั้น
เช่นโถส้วมปัสสาวะผู้ชาย จะใช้โถปัสสาวะขนาดเล็ก รูปร่างเหมือของผู้ใหญ่ทั่วๆไป
เพียงแต่ย่อส่วนลงให้มีขนาดเหมาะสำหรับเด็กเท่านั้น ห้องนอนก็มีอุปกรณ์ เตียง ตู้
โต๊ะเก้าอี้ เหมือนของผู้ใหญ่ เพียงแต่ย่อส่วนขนาดเท่านั้น
การจัดห้องเรียนเตรียมความพร้อม
จัดได้ดีมาก เช่น ห้องศิลปะ ห้องคณิตศาสตร์ ห้องบูรณาการ
การนำไปประยุกต์ใช้
เมื่อได้ศึกษาดูงานที่ Faith Kindergarten
School แล้วย้อนกลับมาดูศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลในชนบทของประเทศไทย
ดูเหมือนจะแตกต่างราวฟ้ากับดิน
สิงค์โปร์ให้เอกชนเข้ามาจัดการและให้ความสำคัญอย่างมาก
รัฐบาลกำกับมาตรฐานติดตามคุณภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย อบต. เทศบาล
จะต้องปรับปรุงสถานศึกษาระดับอนุบาลอย่างมาก ต้องให้ความสำคัญ ท้องถิ่นต้องเข้ามาดูแลสนับสนุน รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ
3. Raffles’ Girls School (Secondary) (RGS)
เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษานักเรียนหญิงล้วน ไม่ใช่สหศึกษา และเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ
(Independent
School ) จัดการเรียนการสอนตั้งแต่
ม.1-4 ในระดับ ม.5-6 สิงคโปร์จะเรียกว่าระดับวิทยาลัย (College)
โดยจะมีโรงเรียนเครือข่าย คือ Raffles
Institution (RI)
จากการฟังบรรยายโดย
Principal สุภาพสตรีชื่อ
Ms Jullie Hoo บริหารจัดการโดยมีคณะกรรมการโรงเรียนหรือ
School Board ก่อตั้งปี
ค.ศ.1879 นักเรียน 1,800 คน หลักสูตรโรงเรียนเรียกว่า Raffles
Program ซึ่งมีขอบข่ายวิชาต่างๆ
ได้แก่ ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ พลศึกษา ปรัชญา ภาวะผู้นำ
และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (CCA= Co-Curriculum Activities)
จุดเด่นของโรงเรียน
คือ เนื้อหา หลักสูตร เน้นความเป็นผู้นำ(Leader)
โดยมีความเชื่อว่า
นักเรียนหญิงทุกคนเป็นผู้นำได้
และเน้นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (Co-Curriculum Activities)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะเน้นให้นักเรียนทุกคนเข้าร่วม การแข่งขันที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การปฏิบัติการทางวิชาการ ดนตรี ศิลปะ พลศึกษา
การพัฒนาด้านความสามารถพิเศษ (Talent Development) มี 5 Program คือ
1. Raffle Academies (วิชาการ)
2. Music Program (ดนตรี)
3. Special Art Program (ศิลป์)
4. Regional Studies
Program (ศึกษา ภูมิภาค)
5. Special Program เช่น
- Future Problem
Solving
- Community
Problem Solving
ฯลฯ
อาคารสถานที่โรงเรียนสะอาดมาก
ดูสภาพภายนอกบรรยากาศดีมาก
แม้พื้นที่จะคับแคบ
เนื่องจากมีเวลาน้อย จึงไม่ได้เจาะลึกดูห้องบริการต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้อง Lab เป็นต้น
ประสบการณ์ที่ได้จากโรงเรียนนี้คือ
1. การบริหารจัดโรงเรียนอิสระ (Independent School )
-
โรงเรียนสามารถกำหนดหลักสูตร ค่าเล่าเรียน
การจ้างครูและบุคลากร
-
มีคณะกรรมการโรงเรียน (School
Board) ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
2. หลักสูตรเน้นพัฒนาคุณลักษณะ
นิสัย และความเป็นผู้นำของนักเรียนหญิง
-
สามารถนำมาปรับปลักสูตรเน้นความเป็นผู้นำได้ทั้งนักเรียนชายและหญิง
3.
พัฒนาความสามารถพิเศษทั้งด้านดนตรี ศิลปะ วิชาการ
และโครงการพิเศษอื่นๆ
4.
ให้ความสำคัญกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เพราะเป็นการพัฒนานักเรียนทั้งตัว(Integrated Development)
4.
River Valley High School
เป็นโรงเรียนรัฐบาล
(Goverment School)
สภาพเป็นโรงเรียนมอบอำนาจบริหารบางส่วน (Autonomous School ) ผู้บริหาร(Principal) คือ Mr. Koh Yong Chiah, Vice Principal คือ MDM
So Kah Lay วันที่เยี่ยมชมผู้อำนวยการไม่อยู่ แต่มี MDM So Kah Lay
ต้อนรับและบรรยายสรุป
จากนั้นพาเยี่ยมชมห้องต่างๆ อาคารสถานที่ห้องพักครู เป็นต้น
การบริหารจัดการจะมี School Board มีผู้อำนวยการ แต่สิงคโปร์เรียก Principal ไม่ใช่ Director เหมือนประเทศไทย มีรองผู้อำนวยการ 3 คน โดย
2 คนจะช่วยงานวิชาการการเรียนการสอน อีก 1 คน ช่วยงานบริหารจัดการ (Administration)
สิ่งที่ได้จากโรงเรียนนี้ คือ
1.
การจัดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ทุกสาขา
ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ทุกห้องจะมีโต๊ะเก้าอี้มาตรฐาน มีอ่างล้างอุปกรณ์ มีอุปกรณ์ครบ
เป็นห้องเรียนปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่ห้องบรรยาย
2. การจัดห้องสมุด เป็นสัดส่วน
มีคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนสืบค้นจำนวนมาก
มีมุมต่างๆ จัดบรรยากาศดี มีสีสัน
3. จัดห้องพักครูให้ไปพักอยู่รวมกัน ใช้ Air ร่วมกัน มีโต๊ะเก้าอี้ครู มีชั้นวางอุปกรณ์ มีปลั๊กไฟพร้อมทุกโต๊ะ
4. จัดหลักสูตรส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ ดนตรี
5.
การจัดหลักสูตรของโรงเรียนเรียก School basal Program
มีให้เลือกดังนี้
5.1 Program ด้านวิชาการ (Academies Development Program)
5.2 Program พัฒนาคุณลักษณะและความเป็นผู้นำ
5.3 Youth Olympic Games
5.4 Asian Young Leaders
โปรแกรมพิเศษเหล่านี้น่าสนใจมาก สามารถนำมาจัดในโรงเรียนในฝันได้
5. Jurong Secondary School
เป็นโรงเรียนมัธยมแบบสหศึกษา ผู้บริหารชื่อ Mr.Tham Kine Thong มีรองผู้บริหาร 3 คน คือ Mr.Alvin Lav, Mr.Sheik Alaudin และ Mrs. Komathi Suppiah
การจัดหลักสูตรแบ่งเป็นสาขาวิชาดังนี้
1. ภาษาอังกฤษ 2. ภาษาแม่
(จีน,มาเลย์, ทมิฬ)
3. คณิตสาสตร์ 4.
วิทยาศาสตร์
5. มนุษย์ศาสตร์ 6. พลศึกษา
7. สุนทรียศาสตร์ 8.
การเรียนรู้เพื่อการนำไปใช้(Applied Learning)
จากการฟังบรรยาย
การเยี่ยมชม และการสัมภาษณ์ ครูและนักเรียน
พบว่าโรงเรียนมีจุดเด่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้
ดังนี้
1.
การจัดนักเรียน(คณะกรรมการนักเรียน)ต้อนรับแขกผู้มาเยี่ยม
โรงเรียน
Jurong ทำได้ดีมาก คณะนักเรียนที่มาต้อนรับ ใส่สูทฟอร์มของโรงเรียน
กางเกง
ขายาวสีเทา เสื้อสูทสีส้ม นักเรียนกลุ่มนี้จะมาต้อนรับ และพาไปเยี่ยมชมห้องต่าง ๆ
และตอบคำถามให้ข้อมูล
2.
การบริหารจัดการ จัดโครงสร้าง
โดยแบ่งส่วนงาน ดังนี้
2.1
สาขาวิชา
1.
คณิตศาสตร์ 2. วิทยาศาสตร์
3.
ภาษาอังกฤษ 4. ภาษาแม่
5.
ประวัติศาสตร์และสังคมศึกษา 6. พลศึกษา
7.
เทคโนโลยี ICT 8. Media Literary
9.
สาขา Applied Learning 10.
สาขาพัฒนาคุณลักษณะ
2.2
ฝ่ายสนับสนุน
1) ผู้จัดการ 1
2) ผู้จัดการ 2
3) ผู้จัดการปฏิบัติการ
4) ฝ่ายพัฒนาบุคลากร
5) ฝ่ายวินัย
6) ฝ่ายความเป็นผู้นำของนักเรียน
7) ฝ่ายที่ปรึกษาเต็มเวลา
3. การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL (Problems-based
Learning)
-
จัดการเรียนการสอนโดยยกเอาปัญหาขึ้นมาเป็นตัวตั้ง
ปัญหาสังคม ปัญหาทั่วไป
ปัญหาของชุมชน ฯลฯ
แล้วมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน
เป็นวีสอนที่ดีมาก
นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ
ได้แก้ปัญหาจริงในชุมชน
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
4. การจัดหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องสื่อ (Media Literacy Curriculum)
- เป็นหลักสูตรที่ดีมาก
- โรงเรียนมี Studio ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง การเป็นผู้ประกาศข่าว(Announcer) เป็นผู้ถ่ายภาพ เป็นช่างเทคนิค
ผู้กำกับการถ่ายทำ จัดรายการต่างๆ
- เนื้อหาหลักสูตรนักเรียนได้เรียนเรื่องการเข้าถึงสื่อ
การประเมินสื่อ การเลือกบริโภคสื่อ และการจัดทำสื่อ จากง่ายๆ สู่สื่อยากๆ
- นักเรียน ม.1
และ ม. 2 ต้องผ่านหลักสูตรนี้ทุกคน
5. การจัดการเรียนการสอนในโครงการ Future School ของสิงคโปร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น